ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

฿ 420.00

฿ 336.00

สินค้าหมด

ISBN9789740217343
ปกหนังสือปกอ่อน (มีปีกปก)
กระดาษIvory
จำนวนหน้า416 หน้า
น้ำหนัก515.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ยุคทองล้านนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสามัญชน

ผู้เขียน : วิชญา มาแก้ว, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล/ คำนำเสนอ

ใหม่ หมดสต๊อก

"...การศึกษาประวัติศาสตร์แบบเดิมของล้านนา...วิเคราะห์พลังความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์เป็นเพราะพระบรมเดชานุภาพ อาณาจักรจะเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมสลายขึ้นอยู่กับกษัตริย์ แนวทางวิเคราะห์เช่นนี้ละเลยบทบาทของสามัญชนคนชั้นล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้ฐานรากของอาณาจักร..."

(คำนำเสนอโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล)

ยุคทองล้านนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสามัญชน ของ วิชญา มาแก้ว จะพาผู้อ่านย้อนเวลากลับไปยังดินแดนแห่งหุบเขาและสายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ที่สามัญชนทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างยุคสมัยอันรุ่งเรืองด้วยการค้า

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ล้านนาซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรของป่าที่สำคัญได้เปิดประตูรับยุคสมัยแห่งการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้านนาที่ก่อตัวขึ้นจากเครือรัฐต่างๆ ในดินแดนหุบเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐตอนในที่ไม่ติดทะเล โดยล้านนาได้อาศัยเครือข่ายระหว่างเมืองและรัฐในการกระจายสินค้าและทรัพยากรจากดินแดนหุบเขาไปสู่เมืองท่าชายฝั่ง เพื่อส่งออกไปขายในตลาดการค้าใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประกอบกับโครงสร้างสังคมและการปกครองของล้านนาที่เอื้อให้ชนชั้นล่างหรือไพร่มีอิสระในการทำค้า-ทำการผลิต ทำให้ไพร่เหล่านี้บางส่วนกลายเป็นทั้งพ่อค้า ช่างฝีมือ และบางคนในพวกนี้สามารถสะสมทุนได้จากการค้าที่รุ่งเรือง และกระจายความมั่งคั่งผ่านการระดุมทุนสร้างวัดอันทำให้เกิดการจ้างงาน การผลิต และการค้าอีกต่อหนึ่งด้วย

หนังสือเล่มนี้ จะเผยให้เห็นบทบาทของสามัญชนต่อเศรษฐกิจการค้าในล้านนายุคทอง


๑. จุดเริ่มต้นของ “ยุคแห่งการค้า” และกำรก่อตัวของเศรษฐกิจยุคทอง
เงื่อนไขปัจจัยพื้นฐานภายใน
เงื่อนไขปัจจัยเศรษฐกิจภายนอก
พัฒนาการของเครือข่ายเศรษฐกิจระดับ “อาณาจักร” ในยุคต้นของล้านนา
จุดเริ่มต้นของยุคแห่งการค้าระดับภูมิภาค และการก่อตัวของเศรษฐกิจยุคทองในล้านนา
สรุปท้ายบท : จุดเริ่มต้นของยุคแห่งการค้า และการก่อตัวของยุคทอง

๒. ระบบเศรษฐกิจของรัฐ : ส่วย แรงงาน และการค้าทางไกล
ระบบส่วย-แรงงาน และการแปรส่วยของป่าให้เป็นสินค้าของรัฐ
การค้าระหว่างรัฐในลักษณะจารีต และขุนนางมูลนายที่เกี่ยวข้อง
เครือข่ายการค้าระหว่างรัฐภาคพื้นทวีปของล้านนา
สรุปท้ายบท: ผลประโยชน์จากการค้าของรัฐความมั่งคั่งของชนชั้นนำ

๓. ระบบเศรษฐกิจยุคทอง : ตลาด การผลิต และการกระจาย ความมั่งคั่งผ่านกระบวนการบริโภคทางสังคม
ที่มาของการบริโภคทางสังคม และการทำงานของวงจรการบริโภคทางสังคม
บุญ-บารมี การบริโภคทางสังคมและการกระจายความมั่งคั่ง
ระบบเศรษฐกิจในยุคทอง และความเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
สรุปท้ายบท : วงจรบริโภคทางสังคมกับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในยุคทอง

๔. บทบาทสำมัญชนและผลของการขยายตัวทำงเศรษฐกิจ ในยุคทองของล้านนา
บทบาทสามัญชนและความเปลี่ยนแปลงอันละเอียดอ่อนภายในโครงสร้างสังคมล้านนา
สรุปท้ายบท: ระบบเศรษฐกิจและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคทอง