
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 978-974-02-1284-3 |
---|---|
ปกหนังสือ | อ่อน |
กระดาษ | กระดาษจริงใจ 75 แกรม |
จำนวนหน้า | 272 หน้า |
น้ำหนัก | 330.00 กรัม |
กว้าง | 14.30 ซม. |
สูง | 18.50 ซม. |
หนา | 1.60 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2557 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
ว่าด้วยวัฒนธรรมอาหารชาติพันธุ์ที่เป็นบันทึกทางสังคม เป็นตำราอาหาร สะท้อนวัฒนธรรมอาหารที่กำหนดสังคม และรูปแบบสังคมที่กำหนดวัฒนธรรมด้านอาหาร อาจจะเกิดความเข้าใจใหม่อย่างน้อยหนึ่งสิ่ง นั่นคือ อาหารมอญมีการเดินทางข้ามพรมแดน ไม่เพียงระหว่างดินแดนพม่าและไทยเท่านั้น ทั้งยังดำรงอยู่และเติบโตตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น อาหารมอญในทุกวันนี้จึงแตกต่างกันไปบ้างตามชุมชนและวัตถุดิบของแต่ละแห่ง บ้างก็ปรับเปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากคนทั่วไปมากขึ้น เพื่อให้วัฒนธรรมอาหารมอญเป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย มีตัวตนและสืบทอดถึงลูกหลาน กระทั่งได้รับการบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน
ค้นลึกก้นครัวมอญ สัมผัสสายน้ำชีวิต ร่องรอยการเดินทางของชาติพันธุ์มอญในเมืองไทย
“อาหารมอญ” มีการเดินทางข้ามพรมแดน
ไม่เพียงระหว่างดินแดนพม่าและไทยเท่านั้น
ทั้งยังดำรงอยู่และเติบโตตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา
แม้อาหารมอญในวันนี้ไม่ได้ปรากฏชื่อและนามภายใต้รัฐชาติมอญ
แต่ก็ได้เป็นน้ำเนื้อเดียวกันกับถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน อย่างน้อยก็ในเมืองพม่าและเมืองไทย
กระทั่งวันนี้ “วัฒนธรรมอาหารมอญ” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ประชาคมอาเซียน”
พรมแดนซึ่งไม่มีอยู่จริง...ที่กำลังถูกทลายลง