ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740215769
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า432 หน้า
น้ำหนัก900.00 กรัม
กว้าง16.20 ซม.
สูง24.10 ซม.
หนา3.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่๒ : ตุลาคม ๒๕๖๐
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

งานพระเมรุ : ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง

ผู้เขียน : ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

ใหม่
**หนังสือ งานพระเมรุ : ศิลปสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง**

“งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เกี่ยวเนื่อง” เป็นผลิตผลของนักวิชาการและนักศึกษาที่มีความสนใจในเรื่องสหวิทยาการมนุษยศาสตร์ อันว่าด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับ “งานพระเมรุ” ซึ่งเป็นงาน สำหรับส่งผู้วายชนม์ที่ละวางสรีระในโลกนี้ สู่ภพภูมิใหม่ตามคติความเชื่อของคนไทย และผู้คนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรับเอาต้นรากวัฒนธรรมดังกล่าวมาจากอินเดีย แต่ก็มีพัฒนาการจนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละท้องที่อย่าง น่าสนใจยิ่งนัก โดยบทความทั้งหมดได้ถูกประมวลและจัดออกเป็น ๓ ส่วน ดังต่อไปนี้ คือ“ส่วนที่ ๑” ที่ว่าด้วย “จากสุวรรณภูมิ...สู่อุษาคเนย์...” ซึ่งบทความที่จัด อยู่ในกลุ่มนี้ จะเป็นบทความที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระเมรุที่เกิดขึ้นใน“แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตที่มักกล่าวถึงในนามของ “สุวรรณภูมิ” จนกระทั่งปัจจุบันที่รู้จักกันในนามของ“อุษาคเนย์” โดยต้องการจะสื่อสารให้เห็นว่า“งานพระเมรุ”หรือ“ประเพณีส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ขึ้นสู่สวรรค์นี้”มิได้จัดกันอยู่แค่เพียง ในกลุ่มวัฒนธรรมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างที่รับรู้กันในปัจจุบันนี้เท่านั้นแต่กลับพบอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วทั้งแผ่นดินอุษาคเนย์ ในที่นี้ จึงแยกบทความที่เกี่ยวข้องกับดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยาในสมัย“อยุธยา และรัตนโกสินทร์”แม้ว่าพื้นที่ดั่งกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของอุษาคเนย์ด้วยก็ตาม เนื่องมาจากนับตั้งแต่การก่อตัวขึ้นของรัฐอยุธยาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มาจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีความเชื่อมต่อกันอย่างแนบแน่นอีกทั้งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆจำนวนมาก ให้นักวิชาการที่สนใจหยิบยกประเด็นต่างๆ นำมาศึกษาได้มากมาย “ส่วนที่ ๒” ที่ว่าด้วย “จากอยุธยา...สู่รัตนโกสินทร์...”“ส่วนที่ ๓” คือ “เรื่องเล่าจากจิตรกรรมฝาผนังภาพ จิตรกรรมฝาผนังงานพระเมรุและเรื่องเกี่ยวเนื่อง” ที่ผู้เขียนแต่ละคนพยายามจะสร้างความเชื่อมโยงจากโลกที่เป็นจริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่ถูกนำ มาใช้ในโลกแห่งจินตนาการบนภาพจิตรกรรมฝาผนัง บทความพิเศษ ปฐมบทด้วยบทความพิเศษเรื่อง“ปกิณกะเนื่องกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” จาก “อาจารย์จุลทัศน์พยาฆรานนท์” ผู้เป็นเสาหลักของวงวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาของบทความได้ฉายภาพการเป็นบุคลากรทาง“สหวิทยาการมนุษยศาสตร์”