ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740216025
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า320 หน้า
น้ำหนัก470.00 กรัม
กว้าง14.20 ซม.
สูง21.30 ซม.
หนา1.70 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่3 : สำนักพิมพ์มติชน กุมภาพันธื 2564
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

พระราชวงศ์จักรีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๖ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่๖)

ผู้เขียน : ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล

ใหม่

ทั้งลับ - ทั้งลึก ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชสำนักรัชกาลที่ ๖

“บทนิพนธ์ในตอน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖” และตอน “ผู้เขียน” ซึ่งองค์ผู้ทรงนิพนธ์ทรงกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดา และความสัมพันธ์กับบรรดาเจ้าพี่เจ้าน้องและพระญาติของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งเป็นตอนที่ยังไม่เคยมีการเผยแพร่จนเชื่อกันว่า ต้นฉบับในตอนนี้สูญหายไปแล้วเนื่องจากหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเป็นพระอนุวงศ์ฝ่ายในเพียงองค์เดียวที่ได้มีโอกาสถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใกล้ชิด ได้ทรงรับพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกประการนับแต่เสด็จเสวยสิริราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ตราบจนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ฉะนั้นบทนิพนธ์ในตอน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖” และ “ผู้เขียน” จึงเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชเรื่อยไปจนเสด็จสวรรคตที่องค์ผู้ทรงนิพนธ์ได้ทรงพบเห็นและทรงอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยองค์เอง จากการที่องค์ผู้ทรงนิพนธ์ทรงเป็นฝ่ายในที่ได้มีส่วนรู้เห็นความเป็นไปในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแวดล้อมไปด้วยพระราชวงศ์และข้าราชบริพารฝ่ายหน้า บทนิพนธ์นี้จึงเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของฝ่ายในที่มีมุมมองแตกต่างไปจากข้อเขียนของข้าราชบริพารฝ่ายหน้าที่เคยเผยแพร่กันมาในช่วงเวลาก่อนหน้าฉะนั้นเพื่อให้ประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ขาดหายไปมีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสืบไป ทั้งนี้ มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขอขอบคุณ ม.ร.ว. ดำรงเดช ดิศกุล ได้ช่วยตรวจทานต้นฉบับอีกครั้งหนึ่ง และ ส่งมอบต้นฉบับบทนิพนธ์ พระราชวงศ์จักรี ตอน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖” และ “ผู้เขียน” ให้สำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทนิพนธ์ทั้งสองตอนนี้คงจะช่วยสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชจริยาวัตร และพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวให้ชัดเจน สมดังปณิธานในหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ผู้ทรงนิพนธ์บันทึกนี้ไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป”
(หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)