ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217534
ปกหนังสือแข็ง
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า536 หน้า
น้ำหนัก850.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา3.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 3 : กุมภาพันธ์ 2565
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐

ผู้เขียน : ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์

ใหม่

ทดลองอ่าน "ปฏิวัติ ร.ศ. 130" ได้ที่นี่

https://bit.ly/3jjikUQ

เรื่องย่อ

บันทึกความทรงจำร่วมของ ร.ต.เหรียญ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์

บันทึกถึง ความเป็นมาของการก่อตัวของความคิดในการพยายามปฏิวัติทางการเมืองของ ‘คณะร.ศ. ๑๓๐’ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื้อหาภาในเล่มประกอบด้วย เป้าหมายของการปฏิวัติ การขยายแนวร่วม การทรยศหักหลัง น้ำใจของเพื่อนนักปฏิวัติ การถูกจับกุมและไต่สวนจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การถูกคุมขังลงทัณฑ์ ชีวิตนักโทษการเมืองในคุก ชีวิตนักปฏิวัติหลังการพ้นโทษ การสนับสนุนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของพวกเขา

กล่าวได้ว่า บันทึกความทรงจำเล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นงานเขียนที่สำคัญและถูกใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาเหตุการณ์ในครั้งนั้นมากที่สุด

ความพยายามปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ เหตุการณ์นี้ไม่เป็นแต่เพียงความเคลื่อนไหวทางการเมืองสำคัญบนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของสยามเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดฉากวิวาทะระหว่างฝ่ายที่ต้องการรักษากับฝ่ายมุ่งเปลี่ยนแปลงอำนาจการเมืองที่จินตภาพถึงอนาคตของสยามที่วางอยู่บนทางสองแพร่งระหว่าง ‘ซิวิไลซ์หรือศรีวิลัย’ ‘ความเสื่อมหรือความเจริญ’ ‘อนุรักษนิยมหรือเสรีนิยม’ ‘ราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตย’ หรือแม้ระทั่ง ‘ลิมิเต็ด มอนากีหรือรีปับลิ๊ก’ แม้สยามจะเดินผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมานานถึงร้อยปีแล้วก็ตาม แต่การวิวาทะถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยยังคงดำเนินต่อไปบนเส้นทางของความไม่สิ้นสุดของภาวะสมัยใหม่

ปฏิวัติ ร.ศ. 130 ฉบับที่พิมพ์โดย สนพ.มติชน ยังเพิ่มภาคผนวก เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ คณะ ร.ศ.130 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมและอธิบายโดย ณัฐพล ใจจริง

ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ ได้เพิ่มภาพประกอบ และเพิ่มบทความพิเศษอีก 2เรื่อง เพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 1. จาก “คณะร..ศ.130” ถึง “คณะราษฎร” : ความเป็นมาและความคิด “ประชาธืปไตย” ในประเทศไทย เขียนโดย ณัฐพลใจจริง และ อนุสรณ์คณะ “เก๊กเหม็ง” สยาม ร.ศ. 130 เขียนโดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์