ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2565
เมื่อความปรารถนาของคณะทหารหนุ่มผู้ก่อการ ร.ศ.130 สมัยรัชกาลที่ 6 คือการจะยกระดับประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศอื่นๆ หนึ่งในการดำเนินการก่อนการเคลื่อนไหวยึดอำนาจ คือ การแปลหนังสือ “คอนสติติวชั่นลอว์ (Constitution Law)” โดย คณะนักปฏิวัติ
รัฐธรรมนูญของ “คณะปฏิวัติ ร.ศ.130” กับ มหากวี “ชิต บุรทัต” โดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์ บทความที่รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่างๆ เผยชื่อทีมร่างรัฐธรรมนูญของคณะ ร.ศ.130, “คอนสติติวชั่นลอว์ (Constitution Law)” คือหนังสืออะไร? คณะนักปฏิวัติ ร.ศ.130 ที่แปลหนังสือนี้มีใครบ้าง? ฯลฯ บทความนี้จะเสนอคำตอบเพื่อเพิ่มพูนข้อมูลประวัติศาสตร์การปฏิวัติครั้งสำคัญคราวนั้น เรื่องที่คนไม่เคยรู้ก็คือกุฏิของสามเณรชิต บุรทัต วัดบวรนิเวศวิหาร คือสถานที่ “ร่างรัฐธรรมนูญ”
นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2565 ยังมีบทความบทวิเคราะห์ “สงครามในหน้าประวัติศาสตร์” กับ 2 บทความ
- สงครามมหาเอเชียบูรพา ไทยรอดจากการยึดครองของญี่ปุ่น แต่เกือบเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ
โดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต
- ความหวังเมืองไทย ในยุคสงครามเย็น ตามหลักฐาน SEATO โดย ไกรฤกษ์ นานา
เริ่มคอลัมน์ใหม่
คอลัมน์ “ในวรรณคดีมีประวัติศาสตร์” โดย ธนโชติ เกียรติณภัทร และ คอลัมน์ “มานุษย์ มา Nerd” โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
แจกฟรี! ปฏิทินศิลปวัฒนธรรม 2566