
คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้
สินค้า | ราคา | จำนวน | ราคารวม | |
---|---|---|---|---|
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้ |
ISBN | 978-974-02-1321-5 |
---|---|
ปกหนังสือ | แข็ง |
กระดาษ | กระดาษจริงใจ 70 g. |
จำนวนหน้า | 576 หน้า |
น้ำหนัก | 795.00 กรัม |
กว้าง | 16.50 ซม. |
สูง | 22.30 ซม. |
หนา | 3.80 ซม. |
พิมพ์ครั้งที่ | พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, กันยายน 2557 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์มติชน |
หลังจากเดินทางด้วยประสบการณ์ชีวิตอันยาวนาน ผ่านการเป็นนักเขียน บรรณาธิการอาวุโส จนถึงนักประพันธ์ชั้นครู
มาในวันนี้ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ก็ได้เจิดจรัสเชิดชูอยู่บนชั้นหนังสืออีกครั้ง ภายหลังรวมเรื่องสั้น “เหมืองแร่” และ “เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่” ปรากฏสู่สายตาสาธารณชน
หลังจากเดินทางด้วยประสบการณ์ชีวิตอันยาวนาน ผ่านการเป็นนักเขียน บรรณาธิการอาวุโส จนถึงนักประพันธ์ชั้นครู
มาในวันนี้ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ก็ได้เจิดจรัสเชิดชูอยู่บนชั้นหนังสืออีกครั้ง ภายหลังรวมเรื่องสั้น “เหมืองแร่” และ “เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่” ปรากฏสู่สายตาสาธารณชน
โดยล่าสุด เป็นรวมข้อเขียนภายใต้ชื่อ “ปรัชยาไส้”
ด้วยรวมข้อเขียนเล่มนี้ บรรยายการดำเนินชีวิตของปุถุชนคนสามัญ แม้หลายต่อหลายท่านอาจมองว่าพวกเขาต่างล้วนหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาติตรองความคิด ความเชื่อ หรือแม้แต่ความรู้สึกของตนเอง แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านร้านถิ่นนี่แหละที่มีความคิด ความสามารถ อย่างน้อยก็มี “กึ๋น” หรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตเพื่อเอาตัวรอดในสังคม
พวกเขาล้วนมี “ปรัชญา” ประจำใจ โดยไม่ต้องไปหวังพึ่งนักคิดนักปราชญ์ ฟุ้งเฟื่องไปตามเรื่องตามราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต แต่พวกเขาก็ยังสามารถ “ยาไส้” ให้แก่ชีวิตของตนและครอบครัวได้
“อาจินต์ ปัญจพรรค์” จึงได้ใช้คำว่า “ปรัชญา” หมายถึง “หลักคิด” มาสนธิกับคำว่า “ยาไส้” ซึ่งหมายถึงการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากท้อง จนกลายเป็น “ปรัชยาไส้” ที่แม้จะดูแสนธรรมดา แต่แท้จริงลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะอย่างน้อยก็เป็นการเผยให้เห็นความสามัญที่แสนวิเศษ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความคิดของผู้ดีมีเงินแม้เศษเสี้ยวหนังสือเล่มนี้จึงแทรกแซมด้วยเนื้อหาที่น่าซื้อเก็บไว้เป็นข้อคิดติดบ้าน มิใช่เพราะผู้เขียนเป็นบรมครูด้านวรรณกรรมเพียงแต่เท่านั้น
แต่เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปุถุชนคนเล็กคนน้อยล้วนเป็น “คนที่มีความคิด” มาช้านานแล้วนั่นเอง