ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

฿ 330.00

฿ 264.00

สินค้าหมด

ISBN 9789740217121
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า272 หน้า
น้ำหนัก340.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่1
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

นครวัดทัศนะสยาม

ผู้เขียน : รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ

ใหม่ หมดสต๊อก

ก่อนหน้าการค้นพบบนครวัดของฝรั่งเศส ความรู้เกี่ยวกับนครวัดของคนท้องถิ่นนั้นก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ในรูปแบบของตำนาน ความทรงจำ และพงศาวดาร

เรื่องความรู้ ความทรงจำต่อนครวัดของคนท้องถิ่น คงมิต้องพูดถึงชาวกัมพูชาเจ้าของดินแดน นับแต่เฉพาะชาวสยาม ก็มีความทรงจำต่อเมืองนครวัดหลากหลายและยาวนาน เพราะถ้าหากย้อนเวลากลับไป เราจะพบว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย-รัตนโกสินทร์ ระบุถึงความรู้ของชาวสยามที่มีต่อนครวัดไว้จำนวนมาก และไม่ใช่แค่ในระดับชนชั้นสูงเท่านั้นที่รู้จักนครวัดและสั่งให้สร้างวัด-วังเลียนแบบ แต่ชาวบ้านร้านตลาด-พระสงฆ์องค์เจ้าต่างก็รู้จักนครวัดเช่นกัน และคนเหล่านี้ต่างเคยเดินทางไปเมืองนครวัดด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้น จึงไม่ใช่เลยที่นครวัดจะเป็นเมืองที่ถูกทิ้งร้าง และแวดล้อมไปด้วยชนป่าเถื่อนอย่างที่อองรี มูโอต์บอกเล่าเอาไว้ เพราะที่แท้เรื่องราวของนครวัดยังคงไหลเวียนอยู่ในความทรงจำของคนท้องถิ่นมาตลอดสายธารของประวัติศาสตร์ เพียงแต่ไม่ใช่ในแบบที่คนปัจจุบันเข้าใจ

รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ ได้รวบรวมหลักฐานความรู้ ความเข้าใจนครวัดของชาวสยามมาร้อยเรียงเป็นหนังสือเรื่อง นครวัดทัศนะสยาม เพื่อบอกเล่าความเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ของชาวสยามที่มีต่อนครวัดที่ปรับเปลี่ยน ผันแปรไปตามบริบทของยุคสมัย และตอกย้ำให้เห็นว่า "นครวัดไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดมา"


“นครวัด-นครธม”
ในการรับรู้ของไทยก่อนสุโขทัย

  • ร่องรอยการรับรู้เกี่ยวกับ “เมืองพระนคร” ในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัย

“ศรีโสธรปุระ” เมืองพระนครในการรับรู้ของสุโขทัย

การเมืองและศาสนากับเมือง “พระนครหลวง” ในสมัยอยุธยาตอนต้น

  • กษัตริย์กรุงศรีอยุธยามาจากเมืองพระนคร?
  • จาก “ศรียโสธรปุระ” สู่ “ยโสธรนครหลวง”
  • เมืองนครหลวง หรือพระนครหลวง
  • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ตีเมืองพระนคร
  • เมื่อกรุงศรีอยุธยาปกครอง “เมืองพระนครศรียโศธรปุระ”
  • “สยาม” พ่ายที่เมืองพระนคร ที่มาของชื่อ “เสียมราบ” หรือ “เสียมเรียบ”

เมืองพระนคร ศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญ ในกัมพูชาสมัยอยุธยาตอนกลาง

  • จาก “บรมวิษณุโลก” สู่ “พระพิษณุโลก” และ “นครวัด”
  • เมืองพระนคร ศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญ ในกัมพูชาสมัยอยุธยาตอนกลาง
  • พระราชมุนีมาแต่ศรีอยุธยาไปไหว้พระที่ “เมืองพระนคร”
  • จาก “พระพิษณุโลก” สู่ “พระนครวัด” ในฐานะสถานที่แสวงบุญ

สัญลักษณ์ทางการเมือง “นครหลวง” และความทรงจำสมัยอยุธยาตอนปลาย

  • เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจำาลอง “เมืองพระนคร” มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
  • “ปราสาทบายน” กับความทรงจำในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาตอนปลาย

“นครวัด-นครธม” และ “เสียมราบ” กับความรับรู้สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ตอนต้น

  • การขยายอำานาจในกัมพูชา กับความสนใจ “นครวัด-นครธม” สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
  • การสร้างเมืองเสียมราบในสมัยรัชกาลที่ ๓
  • ความรับรู้เกี่ยวกับตำนานกษัตริย์เขมรโบราณ ใน “นิพพานวังหน้า”
  • นิพพานวังหน้ากับตำานานบรรพกษัตริย์เขมรโบราณ

“นครวัด-นครธม” กับการเมือง สมัยรัชกาลที่ ๔

  • การรับรู้เรื่อง “เมืองพระนคร” ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔
  • นครวัด-นครธมใน “พระเจ้าประทุมสุริย์วงษ์” การรับรู้เรื่องเมืองพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๔
  • เมื่อรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้จำาลอง “ปราสาทนครวัด” มาไว้ที่กรุงเทพฯ

นครวัดในการรับรู้ของคนไทย สมัยรัชกาลที่ ๕

เมื่อ “นครวัด-นครธม” กลายเป็นเรื่อง “โบราณคดี”

  • นิราศนครวัด : ปฐมบทการรับรู้เรื่องเมืองพระนคร จากการศึกษาของฝรั่งเศส
  • นิราศนครวัด ๓ สำนวน
  • เมื่อรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ “นครวัด”