ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN978-974-02-1344-4
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษกระดาษจริงใจ 65 แกรม
จำนวนหน้า176 หน้า
น้ำหนัก230.00 กรัม
กว้าง14.20 ซม.
สูง21.30 ซม.
หนา1.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2557
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

การเมืองไทยใต้อาทิตย์สองดวง

ผู้เขียน : วีรพงษ์ รามางกูร

ใหม่

หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ผ่านมา นับแต่ปลายปี 2556 ที่ม็อบนกหวีดออกปฏิบัติการทางการเมืองด้วยการปิดกรุงเทพฯ ปิดสถานที่ราชการ แตกต่างจากปฏิกิริยาของคนกรุงเทพฯ ที่ยอมทนกับสภาพการณ์ดังกล่าว เพียงเพราะเป็นแนวร่วมกลายๆ กับม็อบในกรุงเทพฯ ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ผ่านมา นับแต่ปลายปี 2556 ที่ม็อบนกหวีดออกปฏิบัติการทางการเมืองด้วยการปิดกรุงเทพฯ ปิดสถานที่ราชการ แตกต่างจากปฏิกิริยาของคนกรุงเทพฯ ที่ยอมทนกับสภาพการณ์ดังกล่าว เพียงเพราะเป็นแนวร่วมกลายๆ กับม็อบในกรุงเทพฯ ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
ประเด็นของหนังสือมิได้เล่าไปเรื่อยๆ หากแต่แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มเรื่อง ดังนี้

1.กล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ม็อบนกหวีดออกปฏิบัติการ การดำเนินการทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่สนับสนุนและอยู่เบื้องหน้า-เบื้องหลังม็อบนกหวีดอย่างเต็มภาคภูมิ ไปจนถึงบทบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในช่วงขาลงที่ไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจจนนำไปสู่ทางตันได้

2.กล่าวถึงเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ผู้เขียนได้เสนอให้ผู้ก่อการบริหารบ้านเมืองให้ถูกต้องตามหลักการให้มากที่สุด ถึงแม้ไม่สามารถยอมรับในการรัฐประหารครั้งนี้ได้แต่เมื่อกองทัพได้ลงมือทำไปแล้วผู้เขียนจึงนำเสนอว่า ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมาย สมควรต้องได้รับการแก้ไข

3.พาร์ทที่สามนี้จะแปลกประหลาดกว่าทุกพาร์ท เนื่องจากบทความของผู้เขียนจะออกมาในแนวนามธรรม อันเป็นนามธรรมที่มีนัยยะในแง่ลบ อาทิ ความเงียบ ความหวาดระแวง เนื่องจากผู้เขียนไม่สามารถเขียนหนังสืออย่างเต็มที่ได้อันเป็นผลมาจากการรัฐประหาร กระนั้นทุกข้อเขียนก็ได้แฝงซึ่งการเตือนสติคณะรัฐประหารว่าไม่ควรยึดเสรีภาพของประชาชนนานเกินไป

4.ส่วนสุดท้ายของหนังสือ กล่าวถึงหลักการกว้างๆ ในทางประชาธิปไตย ราวกับตอกย้ำว่าไม่ว่าจะเคยเกิดอะไรขึ้นก็ตาม สุดท้ายก็ต้องหวนมาปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ผู้เขียนเสนอหลักการและปรัชญา โดยยกตัวอย่างเหตุบ้านการเมืองในอดีตขึ้นมาเตือนสติมิให้สิ่งที่เกิดนั้นเลวร้ายลงไปกว่านี้