ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740217350
ปกหนังสือปกอ่อน
กระดาษกรีนรีด
จำนวนหน้า280 หน้า
น้ำหนัก350.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 4 : กุมภาพันธ์ 2565
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

แรงงานวิจารณ์เจ้า ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย

ผู้เขียน : ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, คำนิยมโดย ส.ศิวรักษ์ และดำริห์ เรืองสุธรรม, คำนำเสนอโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บทความพิเศษโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

ใหม่

"...เราประสงค์แต่จะตักเตือนพระบรมวงษานุวงษ์ในเมืองไทย... ถ้าการกระทำของพระองค์รุนแรงมากไปแล้ว จักเปนที่ระคายเคืองพระราชหฤทัยมิน้อย ขอให้ทรงเข้าพระทัยไว้เถอะว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชวงษ์ของเรานี้ ย่อมไม่ทรงยอมให้ใครใช้อำนาจจนเกินไป ถ้าอำนาจชนิดนี้หมดไปได้จริงแล้ว บ้านเมืองของเราจะได้เจริญเท่าเทียมเพื่อนบ้านเขาบ้าง”

จาก "ถวัติ ฤทธิเดช"

ในยุคสมัยที่หาผู้หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครองได้ยากเฉกเช่นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ "ถวัติ ฤทธิเดช" ผู้นำกรรมกรรถรางที่หลายคนให้สมญานามว่า "วีรบุรุษคนแรกของขบวนการกรรมกรไทย" คือหนึ่งในคนที่ยืนหยัดต่อสู้ในเชิงหลักการและเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการยื่น "ฎีกา" เรียกร้องสิทธิต่างๆ ที่ชนชั้นกรรมกรพึงได้รับ และตั้งคำถามที่มาก่อนกาลถึงความฉ้อฉลของผู้ถืออำนาจรัฐในขณะนั้น

หลังการปฏิวัติสยาม 2475 แม้กลุ่มผู้ถืออำนาจรัฐจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากเดิม ถวัติยังคงเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมและความเท่าเทียม ไม่ให้รัฐบาลหรือนายทุนมากระทำการกดขี่และขูดรีดชนชั้นกรรมกร ด้วยอุดมการณ์ที่หนักแน่นนี้ จึงนำไปสู่กรณี "คดีพระปกเกล้า" ที่ถวัติยื่นฟ้องคดีอาญาต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ "ทรงบริภาษใส่ความเป็นการหมิ่นประมาทข้าพเจ้า" เพราะถวัติเชื่อว่า "ในเมื่อพระมหากษัตริย์กระทำผิด ผู้ถูกประทุษร้ายหรือเสียหาย มีอำนาจฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ได้"

หลังจากห่างหายไปเกือบ 17 ปี "แรงงานวิจารณ์เจ้า ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย" ผลงานของศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ หวนคืนสู่มือผู้อ่านอีกครั้ง เพื่อให้เรื่องราวของสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่กลับมามีตัวตนในหน้าประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีบทความพิเศษของ ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ที่ชวนให้ผู้อ่านได้เข้าใจประวัติศาสตร์ความคิดเรื่อง "แรงงาน" พร้อมฉายให้เห็นอำนาจและพลังของชนชั้นกรรมกร เหมือนกับที่ "ถวัติ ฤทธิเดช" ได้แสดงออกมาให้ประจักษ์ชัดในหนังสือเล่มนี้แล้ว