ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740218234
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษจริงใจ
จำนวนหน้า288 หน้า
น้ำหนัก400.00 กรัม
กว้าง14.30 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.50 ซม.
พิมพ์ครั้งที่1 : กุมภาพันธ์ 2566
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ทาสไท(ย): อำนาจ ความกรุณา และปิยมหาราชในภาพจำ

ผู้เขียน : ญาณินี ไพทยวัฒน์

ใหม่

ทดลองอ่านได้ที่: http://bit.ly/3SLqTI2

เมื่อกล่าวถึงการเลิกทาสในสังคมไทย ความรับรู้ต่อเรื่องนี้มักผูกติดไว้กับ “พระปิยมหาราช” ในฐานะผู้ทรงปลดเปลื้องความทุกข์ยากของเหล่าทาสให้กลายเป็นไท แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย และพระราชประสงค์ที่จะให้บ้านเมืองเกิดความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ

.

ทว่าพระราชกรณียกิจเลิกทาสคงมิอาจกลายเป็นภาพจำสถิตอยู่ในความรับรู้ทั่วไปได้ หากปราศจากการกล่าวถึงซ้ำไปซ้ำมานานนับศตวรรษ ซึ่งหนังสือเรื่อง "ทาสไท(ย): อำนาจ ความกรุณา และปิยมหาราชในภาพจำ" ผลงานของญาณินี ไพทยวัฒน์ จะพาย้อนกลับไปดูว่า ความรับรู้เรื่องทาสและการเลิกทาสเช่นที่ปรากฏในปัจจุบันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยมองภาพเชื่อมโยงกับบริบททางการเมืองแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่หลังการเลิกทาสใน พ.ศ. 2448 กระทั่งถึงวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการเลิกทาสในไทย พ.ศ. 2548

.

ภาพจำแห่งพระราชกรณียกิจเลิกทาสที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน กลายเป็นวาทกรรมกระแสหลักที่ยากจะหักล้าง แม้บางช่วงเวลามีผู้สร้างชุดคำอธิบายใหม่ๆ ขึ้นมา แต่นั่นเป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ยากเกินกว่าจะท้าทาย...



1 ปฐมบทของการผลิตซ้ำเรื่องทาส และการเลิกทาสในสังคมไทย

  • ร่องรอยความรู้เรื่องทาสและการเลิกทาสในสังคมไทย
  • ว่าด้วยวาทกรรม “ทาสไทย”

2 ก่อนทาสจะเป็นไท : หลักฐานและการรับรู้เกี่ยวกับทาส จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  • การรับรู้เรื่อง “ทาสไทย” จากหลักฐานชั้นต้น
  • “ยอมรับ” ปะทะ “ไม่ยอมรับ”การมีทาสในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความศิวิไลซ์

3 กำเนิดวาทกรรม “ทาสไทย” ภายใต้พระบารมีของพระปิยมหาราช

  • การเลิกทาสเมื่อแรกครั้งปฏิรูปประเทศ
  • การเผยแพร่พระราชกรณียกิจสู่สาธารณะผ่าน “วันปิยมหาราช” และ “พระที่นั่งอนันตสมาคม”
  • งานเขียนสนับสนุนพระราชกรณียกิจเลิกทาส

4 ท้าทายวาทกรรมเก่า สร้างสำนึกพลเมืองใหม่ และแรงปะทะจากสังคมนิยม

  • สำนึก “พลเมือง” ตามรัฐธรรมนูญหลังการปฏิวัติ 2475
  • นักคิดสังคมนิยมกับการรื้อถอนสังคมศักดินา
  • คำอธิบายเรื่องทาส ฉบับพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
  • แบบเรียนเทิดพระเกียรติจากระบอบเก่าสู่ระบอบใหม่

5 การหวนคืนของ “พระราชกรณียกิจเลิกทาส” ท่ามกลางกระแสอนุรักษนิยม

  • ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์กับการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์
  • วิชาการเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาส
  • เมื่อระบอบสฤษดิ์-ถนอมถึงคราวสิ้นสุด การหันเหจากคำอธิบายเก่าช่วงหลัง 14 ตุลาฯ 204

6 สู่ศตวรรษแห่งพระราชกรณียกิจ เลิกทาสในสังคมไทย

  • การเทิดพระเกียรติ “มหาราช” ในยุคเปรมาธิปไตย
  • “ลัทธิพิธีเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5”กับวัฒนธรรมการบูชาของชนชั้นกลาง
  • “100 ปีแห่งการเลิกทาสในประเทศไทย” กับการผลิตซ้ำในพื้นที่สื่ออันหลากหลาย

7 บทสรุป


รูปอื่นๆ