ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740218296
ปกหนังสืออ่อน
กระดาษจริงใจ
จำนวนหน้า384 หน้า
น้ำหนัก480.00 กรัม
กว้าง14.50 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา2.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่1 : มีนาคม 2566
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

นเรศวรนิพนธ์ : การเมือง อนุสาวรีย์ และประวัติศาสตร์เรื่องแต่ง

ผู้เขียน : ปิยวัฒน์ สีแตงสุก

ใหม่

ประวัติศาสตร์สมเด็จพระนเรศวรมีความเป็นมาอย่างไร และเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์สมเด็จพระนเรศวรส่งผลอย่างไรต่อเราในปัจจุบัน

เรื่องเล่าของสมเด็จพระนเรศวรไหลเวียนอยู่ในสายธารความรู้ของคนไทย เพราะถูกปลูกฝังให้เรียนรู้พระราชประวัติของพระองค์แต่เล็ก โดยที่เรื่องเล่าที่รับรู้นั้นมาจากงานเขียนเพียง 1 ชิ้นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเล่าพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนประกาศอิสรภาพ ทำยุทธหัตถี และสวรรคต

รายละเอียดเรื่อง ฉากเหตุการณ์ต่างๆ ถูกนำไปต่อยอดแปรรูปเป็นสื่อต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ หนังสือ เรื่องเล่าชาวบ้าน และภาพยนต์ ซึ่งถูกรัฐไทยนำมาเป็นเครื่องมือหล่อหลอมอุดมการณ์ราชาชาตินิยมแก่คนไทยนับแต่ยุคสงครามเย็นจนถึงหลังรัฐประหาร 2557



1 “ประวัติศาสตร์นิพนธ์” ของสมเด็จพระนเรศวร ไม่ใช่ “ประวัติศาสตร์” สมเด็จพระนเรศวร

  • ก่อนเข้าสู่เรื่องที่จะเล่า
  • พระนเรศวรศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์
  • แนวคิดและการประกอบสร้าง

2 จากกษัตริย์อยุธยาสู่กษัตริย์อยุธยา ของรัตนโกสินทร์

  • ร่องรอยเรื่องเล่าจากสมัยอยุธยา
  • การชำระพระราชพงศาวดารกับการเปลี่ยนสู่ “กษัตริย์อยุธยาของรัตนโกสินทร์”
  • ขยับขยายปริมณฑลของเรื่องเล่า สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

3 ประวัติศาสตร์อัน “ดำรงราชานุภาพ” เรื่องเล่าฉบับพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ไทย

  • เศษเสี้ยวอันหลากหลายก่อนเรื่องเล่าหลักจะปรากฏ
  • พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : เรื่องเล่าหลักกับการรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ภายใต้ระบอบใหม่
  • “สงครามยุทธหัตถี” จากร่างแรกสู่ฉบับที่สมบูรณ์

4 สองนครายุทธหัตถี : จากเรื่องเล่า บนหน้ากระดาษสู่การสถาปนาอนุสาวรีย์

  • กษัตริย์ผู้ทรงพระคชาธารกับทหารผู้ประจำการรถถัง
  • ปักหมุดแรก ณ พื้นที่ชนช้าง
  • วิวาทะข้ามทศวรรษว่าด้วยเจดีย์ยุทธหัตถี (อยู่ที่ไหน)
  • การประนีประนอมและการหักล้างคำอธิบายรัฐที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง

5 หลั่งทักษิโณทกกลางสนามรบสีแดงฉาน วีรมหาราชกับ “คอมมิวนิสต์” อธิราชศัตรู

  • พิษณุโลก : หน้าแรกในเรื่องเล่าของวีรมหาราช
  • การเดินทัพที่ยังไม่ถึงจุดหมาย กับการแย่งชิงมวลชนในภาคอีสาน
  • ชาติพันธุ์อื่นใต้ร่มเงาวีรบุรุษของชาติพันธุ์ไทย
  • เมื่อศาสนานำทางอิสรภาพใกล้ฐานที่มั่น
  • บทเพลงการเมืองกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์

6 สู่ “พื้นที่ใหม่” หลังสงครามเย็น และการผลิตซ้ำผ่านวัฒนธรรมมวลชน

  • โครงการใหญ่ในราชธานีแห่งที่ 2 ตามแนวพระราชดำริ
  • อิทธิปาฏิหาริย์อันบดบังมิได้ของดวงพระวิญญาณแบบพุทธไทย
  • จากนวนิยายไตรภาคของ “ทมยันตี” สู่ละครทวิภาค
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : การฉายเรื่องเล่าหลักซ้ำ (?)บนแผ่นฟิล์ม
  • ณ ปลายทางสุขนาฏกรรม

7 บทสรุป(ไม่)ท้ายสุด


รูปอื่นๆ