ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9786164121454
ปกหนังสือปกแข็ง
จำนวนหน้า158 หน้า
น้ำหนัก710.00 กรัม
กว้าง18.00 ซม.
สูง24.80 ซม.
หนา2.00 ซม.
สำนักพิมพ์มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

อภิชญานศากุนตลัม

ผู้เขียน : กาลิทาส

แนะนำ

อภิชญานศากุนตลัม หรือ ศกุนตลา

ฉบับแปลโดยตรงจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ครั้งแรก

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาจัดพิมพ์เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 65 พรรษา 2 เมษายน 2563

อภิชญานศากุนตลัม เป็นบทละครสันสกฤต กาลิทาส กวีในคริสต์ศตวรรษที่ 4 รจนาเป็นบทละครประเภทนาฏกะ เนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักระหว่างท้าวทุษยันต์กับนางศกุนตลา

บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักภารตวิทยา มีฉบับแปลเป็นภาษายุโรปหลายภาษาและหลายสำนวน เช่น ภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำวรรณคดีเรื่องนี้มาทรงพระราชนิพนธ์เป็น บทละครเรื่องศกุนตลา ทรงดัดแปลงให้เป็นบทละครไทยโดยใช้ต้นฉบับแปลภาษาอังกฤษของ Sir William Jones เป็นหลัก และเทียบเคียงกับฉบับของ Sir Monier Monier-Williams

นับจากเวลาที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องศกุนตลา เมื่อพ.ศ. 2455 จนมาถึงพ.ศ. 2562 เป็นเวลาถึง 107 ปีแล้ว ยังไม่มีการแปลบทละครนาฏกะเรื่อง อภิชญานศากุนตลัม โดยตรงจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

บทละครเรื่อง อภิชญานศากุนตลัม ฉบับภาษาไทยนี้ แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต ที่ M.R. Kale ตรวจชำระ พิมพ์ครั้งที่ 10 พร้อมอรรถกถาของราฆวภัฏฏะและอรรถาธิบาย ฉบับพิมพ์เผยแพร่ซ้ำเมื่อค.ศ. 2000 และนอกจากนั้น ยังได้สอบทานกับฉบับตรวจชำระของ Sir Monier Monier-Williams, ฉบับตรวจชำระของ C.R. Devadhar, ฉบับตรวจชำระของ Somadeva Vasudeva (Clay Sanskrit Library ลำดับ 62)

การแปลบทละคร อภิชญานศากุนตลัม ฉบับภาษาไทยนี้เป็นผลงานของคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภาษาสันสกฤตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ The University of Texas at Austin

และศิลปินผู้วาดภาพประกอบซึ่งเป็นศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นศิษย์ของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

การดำเนินการเริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จในพ.ศ. 2567 จนปรากฏเป็นบทละคร อภิชญานศากุนตลัม ฉบับภาษาไทยที่สมบูรณ์สวยงาม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวรรณคดีไทยและวรรณคดีสันสกฤต ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าความงดงามของวรรณคดีเอกเรื่องนี้

(นำมาจาก คำนำ และ คำชี้แจงในหนังสือเล่มนี้)