ตะกร้าสินค้า

คุณสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนสินค้าจากรายการด้านล่างได้

สินค้า ราคา จำนวน ราคารวม
ไม่มีรายการสินค้าที่เลือกไว้

ISBN9789740218876
ปกหนังสือปกอ่อน
กระดาษIvory 70 g.
จำนวนหน้า248 หน้า
น้ำหนัก380.00 กรัม
กว้าง14.02 ซม.
สูง21.00 ซม.
หนา1.00 ซม.
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งแรก : เมษายน 2567
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน

ปาตานีฉบับชาติ(ไม่นิยม) สงครามช่วงชิงอำนาจก่อนปักปันเส้นเขตแดน

ผู้เขียน : วันอิฮซาน ตูแวสิเดะ, คำนิยม: อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ใหม่ แนะนำ ขายดี

ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4b7DqNI

ทำไมเมืองมลายูอย่าง "ปาตานี" ต้องตกเป็นของสยาม

ส่วนเมืองมลายูที่เหลือตกเป็นของอังกฤษและกลายเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียในเวลาต่อมา...

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มองเพียงสยามเป็น "ผู้กระทำ" และปาตานีเป็น "ผู้ถูกกระทำ"

และไม่ได้มองการกระทำของสยามต่อปาตานีว่าเป็นไปเพื่อความก้าวหน้าและความมั่นคงของชาติตามที่มีคำกล่าวอ้าง

แต่หนังสือเล่มนี้มุ่งก้าวให้พ้นกับดักคู่ตรงข้ามของประวัติศาสตร์ชาตินิยมสยามและปาตานี โดยพาผู้อ่านย้อนกลับไป 1 ศตวรรษก่อนการทำ "สนธิสัญญาแองโกล-สยาม 1909" อันเป็นช่วงเวลาที่ปาตานีถูกสยามแบ่งออกเป็น 7 หัวเมือง เพื่อชี้ให้เห็นการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่ จนนำมาสู่การปักปันเส้นเขตแดนในเวลาต่อมา

ความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่หนังสือเล่มนี้ได้สร้างสรรค์ขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้คนในสังคมไทยเกิดคำถามใหม่ ไม่ถูกจองจำไว้ด้วยความรักชาติแบบคับแคบ อันก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมมาอย่างยาวนาน

สารบัญ

คำนิยม โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

คำนำผู้เขียน

1. บทนำ

“สนธิสัญญาแองโกล-สยาม 1909” สารตั้งต้นของเรื่องราวทั้งหมด

โลกคู่ขนานของประวัติศาสตร์นิพนธ์ปาตานี

2. กำเนิด 7 หัวเมือง: ปฐมบทแห่งการเปลี่ยนแปลง

การเป็นเมืองท่าของปาตานี

การเมืองในราชสำนัก

จากหัวหน้าชุมชนสู่เจ้าเมือง: กำเนิด 7 หัวเมืองปาตานี

พลวัตประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การแบ่ง 7 หัวเมือง

3. รามัน: เมืองตอนในที่ถูกลืม

กำเนิดรามัน

ดีบุกและการเมืองระหว่างรัฐมลายู

รามัน เปรัก สยาม และอังกฤษ

ตำแหน่งแห่งที่ของรามัน

4. สลับสับเปลี่ยนอำนาจนำ: การช่วงชิงที่เกือบจะสำเร็จของอำนาจทางศีลธรรม

ลักษณะการกุมอำนาจของชนชั้นนำปาตานี

ยุครุ่งเรืองของราชสำนัก

ออรังกายาเรืองอำนาจ

เมื่ออูลามาอฺปรากฏตัว

การช่วงชิงที่เกือบจะสำเร็จ

5. บทสรุป

ปาตานีก่อน 1909

ปาตานีหลัง 1909

บรรณานุกรม

นามานุกรม