ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามีความเป็นมายาวนานและซับซ้อน สามารถมองได้หลายแง่หลากมุม ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนา
.
การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของ 2 ประเทศนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะเพื่อนบ้านซึ่งมีทั้งพรมแดนทางเขตแดนและพรมแดนทางวัฒนธรรม
.
มองเขมรแลสยาม ผลงานของ รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานจากทั้งฝั่งไทยและกัมพูชา พร้อมชวนมองประวัติศาสตร์ในมุมที่ต่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพระราชวงศ์ไทย-กัมพูชาผ่าน "เจ้านายสตรี" การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงการเมืองระหว่างประเทศ การกำหนดพื้นที่เขตแดนในทัศนะนักวิชาการกัมพูชา ไปจนถึงตำนานวีรบุรุษกัมพูชาที่เกี่ยวเนื่องกับไทย
.
สารบัญ
คำนำผู้เขียน
1 บทนำ: สายสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-กัมพูชาในมิติประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่หลากหลาย
2 “สิริวรราชธิดา” พระองค์อี พระองค์เภา จากพระราชบุตรีกษัตริย์กัมพูชา สู่พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
3 ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรุงกัมพูชา
4 ไตรภูมิไทย-เขมร: ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาไทย-กัมพูชา
5 ผนวช “กษัตริย์กัมพูชา” สมัยรัชกาลที่ 4: พระพุทธศาสนากับการเมือง 2 ราชสำนักสยาม-กัมพูชา
6 สมณสาส์นการเมืองกัมพูชา-สยาม-ฝรั่งเศสของพระอมราภิรักขิต (เกิด) ถึงสมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน) พระสังฆราชกัมพูชา
7 ภูมิสถานนามหัวเมือง “เขมร” สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นใน "คำฉันท์สมโภชพระบรมมหาเศวตฉัตรบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"
8 พงศาวดารเขมร ฉบับพระยาราชเสนา (เดช): ประวัติศาสตร์บอกเล่าของข้าหลวงไทยสมัยรัชกาลที่ 4
9 พระเสด็จกอน: จาก “กบฏผู้ชิงราชย์” สู่ “วีรกษัตริย์นักปฏิวัติ”
10 ออกญาสวรรคโลก (เมือง): จาก “แม่ทัพ” ต่อต้านสยาม สู่ “เทพารักษ์นักตา” ประจำเมืองโพธิสัตว์
11 พรมแดน “ไทย” ในทัศนะ “เขมร”
บรรณานุกรม
ประวัติการตีพิมพ์